วัคซีนเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เมื่อให้เข้าสู่ร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรค เช่น วัคซีนโควิด-19 ให้เพื่อป้องกัน “โควิด-19 (COVID-19)” ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ เกิดจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ คือ “2019-nCoV (2019 novel coronavirus)” หรือ “SARS-CoV-2” เริ่มเกิดการระบาดที่เมืองอู่ฮั่นในประเทศจีน (Wuhan, China) เมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) มาจนถึงขณะนี้ การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 เริ่มตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2563 และเริ่มทดลองนำมาใช้ช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 การออกฤทธิ์ของวัคซีนในการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันมีความซับซ้อน การใช้ยาบางชนิดซึ่งการออกฤทธิ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ได้ ในทางกลับกันในกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนมีการกระตุ้นการหลั่งไซโตไคน์ซึ่งอาจส่งผลกระต่อประสิทธิภาพของยาบางชนิดได้ ในบทความนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์ของยาที่จะกล่าวถึง, ยาที่อาจรบกวนการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนโควิด-19, ยาที่อาจได้รับผลกระทบจากวัคซีนโควิด-19 และข้อพึงระวังเกี่ยวกับการใช้ยาก่อนและหลังได้รับวัคซีนโควิด-19
อ่านต่อได้ที่
บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Leave A Comment